วันจันทร์ที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2558

Dark Places จากผู้ขียน Gone Girl

มากลับอีกครั้ง สำหรับ ช่วงแนะนำหนังน่าดู

วันนี้ขอเสนอ ภาพยนตร์เรื่อง Dark Places 





          จัดได้ว่าเป็นอีกหนึ่งหนังที่น่าจับตามองมากที่สุดเลยก็ว่าได้ เพราะหลังจากเปิดตัวไปใน Gone Girl อย่างสวยงาม มาปีนี้เราจะมีหนังจากนิยายของผู้เขียนเดียวกันอย่าง กิลเลี่ยน ฟลินท์ มาให้ดูกันอีกแล้ว
           สำหรับDark Places หนังแนวทริลเลอร์เขย่าขวัญ ที่จัดได้ว่าเป็นผลงานการรวมดาราชั้นนำมากมาย นำทีมโดยชาร์ลีซ เธียรอน ที่เรื่องนี้เธอกลับมาเจอกับ นิโคลัส โฮลท์ อีกครั้งหลังจากใน Mad Max: Fury Road ร่วมด้วย โคลอี้ มอเร็ท และ ไท เชอร์ริแดน จาก Mud

Charlize Theron


Nicholas Hoult 



Chloë Grace Moretz


        โดยหนังจะเป็นเรื่องราวของหญิงสาวที่ต้องการรื้อฟื้นกลับไปสืบสวนเกี่ยวกับเหตุการณ์การฆาตกรรมยกบ้านของเธอในอดีตอีกครั้ง และนั่นเองเป็นที่ที่ทำให้เธอได้เจอกับความลับที่สมควรปกปิดเอาไว้มากกว่าจะไปเปิดมันออก บ้านเรามีกำหนดฉาย 6 สิงหาคม นี้ สำหรับใครที่ต้องการอ่านฉบับนิยายก่อนก็ไปหามาอ่านได้ในชื่อไทยว่า ‘เสียงลวงตาย’



เวอร์ชั่น ไทย

เวอร์ชั่นอังกฤษ

           DARK PLACES ว่าด้วยเรื่องราวของ ลิบบี้ เดย์ (ชาร์ลิซ เธอรอน) หญิงสาวรายหนึ่งที่รอดชีวิตจากเหตุการณ์ฆ่าล้างครอบครัวอันโหดร้ายเมื่อตอนที่เธอมีอายุเพียง 7 ขวบ เสียงและเหตุการณ์ในคืนนั้นยังคงตามหลอกหลอนอยู่ในความทรงจำอันเลวร้ายด้วยภาพของพี่ชายเธอ (นิโคลัส ฮอลท์) ผู้ลงมือฆ่าแม่และพี่สาวของเธออย่างเลือดเย็น เมื่อความจริงเริ่มเผยตัวออกมา ลิบบี้ก็ได้รู้ว่า “เสียงที่ได้ยิน” อาจไม่ใช่คำตอบของเรื่องทั้งหมด การรอดตายในคืนนั้นอาจไม่ใช่เรื่องบังเอิญ ทว่ามีใครบางคนจงใจปล่อยเธอไป! แม้เวลาจะผ่านไปแล้วถึง 24 ปี ความกลัวที่ซ่อนไว้ลึกที่สุดภายในจิตใจกลับต้องถูกสะกิดขึ้นมาอีกครั้ง เมื่อเธอต้องไปให้ปากคำในศาลชี้ตัวพี่ชายว่าเป็นฆาตกร แต่กลับมีกลุ่มคนจำนวนหนึ่งที่ไม่เชื่อ ลิบบี้จึงตัดสินใจตามหาความจริงด้วยตนเองว่า ใครคือฆาตกรที่ฆ่าแม่และพี่สาวของเธอกันแน่?!




มาพูดถึง ภาพยนตร์ เรื่อง Gone Girl เล่น/ซ่อน/หาย ที่สร้างชื่อเสียงโด่ดังให้กับนักเขียน กิลเลี่ยน ฟรินน์ อย่างมาก

สำหรับใครที่ยังไม่ได้ดู อยากให้ไปดูมากๆ




 







           Gone Girl เป็นนิยายขายดีที่สุดเรื่องหนึ่งของปีที่แล้ว  นอกจากจะขายดีแล้วยังเป็นที่กล่าวขวัญชื่นชมมากในแวดวงนักวิจารณ์และคนอ่านด้วยกัน
ซึ่งนับว่าแปลกมาก  เพราะส่วนใหญ่แล้ว หนังสือที่นักวิจารณ์ชอบมากๆ คนอ่านมักจะไม่ค่อยชอบ (เช่นหนังสือรางวัลต่างๆ)  ส่วนหนังสือที่คนอ่านชอบมากๆ ก็มักโดนนักวิจารณ์ดูถูกดูแคลน (เช่นนิยายขายดีร่วมกระแสทั้งหลาย)  แต่เล่มนี้มีแต่คนชมแบบสากลจนน่าทึ่งว่ามันเป็นเรื่องยังไงนะ ทำไมไม่มีคนไม่ชอบบ้างเชียวหรือ
เวอร์ชั่นไทย (ปกใหม่)
เวอร์ชั่น ไทย(ปกเก่า)

เวอร์ชั่น อังกฤษ
         เรื่องนี้ขายได้มากกว่า ๒ ล้านเล่มในปีแรกที่วางขาย เป็นเรื่องแนวลึกลับตื่นเต้นระทึกใจ สืบสวนหาคนร้ายว่าใครฆ่า  ปรกติแล้วต้องพูดตรงๆ ว่านิยายแนวนี้มักไม่ได้รับคำชมเยอะขนาดนี้ แปลว่าหนังสือเรื่องนี้ต้องมีอะไรพิเศษกว่าเล่มอื่นแน่ๆ
 หนังสือเล่มนี้สนุกมากจริงๆ ชนิดที่ว่าอ่านแล้วจะว่างไม่ลงเลย 


          เป็นเรื่องของคู่แต่งงานซึ่งสามีพบว่าภรรยาหายตัวไปอย่างลึกลับในวันแต่งงานครบรอบ ๕ ปี ซึ่งแน่นอนว่าตำรวจย่อมสงสัยสามี เรื่อราวจะเล่าสลับไปมา ระหว่างการเล่าเรื่องของสามี สลับกับไดอารี่ของภรรยา หากจะอ่านเรื่องนี้ให้สนุก ขอแนะนำว่าควรรู้เนื้อหาเพียงเท่านี้พอแล้ว อย่าได้ค้นหาหรือไปอ่านข้อมูลพล็อตเรื่องจากที่ไหนเป็นอันขาด เดี๋ยวจะหมดสนุก 
เมื่ออ่านจบ จะพบว่าถ้อยคำของสามีและภรรยานั้นเล่าเรื่องเดียวกันให้เป็นคนละเรื่องเลย  และนี่น่าจะเป็นเหตุสำคัญที่ทำให้นิยายเรื่องนี้พิเศษกว่านิยายสืบสวนทั่วไป เพราะนี่เป็นเรื่องนาฏกรรมชีวิตสมรสที่เล่าได้เข้มข้นแหลมคมจนบาดใจ

      เรื่องเล่าของทั้งคู่เผยชีวิตการแต่งงานที่ชวนให้ใจหาย  จากความรักที่ร่าเริงสนุกสนานกลายเป็นความโกรธชัง  นิกนึกถึงภรรยาด้วยความขมขื่นว่าความทรงจำที่เคยอบอุ่นแสนหวานกลับกลายเป็นความจริงร้ายกาจเยือกเย็นขนาดนี้ได้อย่างไร  ทั้งคู่ทะเลาะและพ่นด่าคำเหน็บแนมใส่กันบ่อยๆ  การสนทนาของทั้ง ๒ กลายเป็นการจู่โจมทำร้ายกัน  เมื่อแต่งงานครบ ๕ ปี นิกได้คิดว่าเขาโกรธภรรยาเรื่อยมา เป็นความสนุกสนานอันเจ็บปวด คล้ายเราคอยกัดเล็บตัวเอง
ให้เลือดซิบแต่ยังดึงดันจะกัดต่อไป  


          ในเรื่อง นิกเป็นสามีหนุ่มวัย ๓๔ ปี  เขาเกิดและโตใกล้เมือง ฮันนิบาล รัฐมิสซูรี ซึ่งเป็นบ้านเกิดของ มาร์ก ทเวน  นิกเป็นผู้ชายน่ารัก หน้าตาดี ทำงานเป็นนักเขียนคอลัมน์นิตยสารในนครนิวยอร์ก  แล้วเขาก็พบรักกับเอมี สาวสวยฉลาดเฉลียวผู้ร่ำรวยซึ่งเกิดและโตที่นิวยอร์ก  เมื่อเอมีหายตัวไป การต้องรำลึกถึงรายละเอียดเล็กๆ น้อยๆ ของภรรยาเมื่อให้การกับตำรวจทำให้เขาได้คิดว่าเขาเป็นสามีที่เฮงซวยที่สุด  ในขณะที่เอมีหายตัวไป เธอกลับปรากฏตัวในความคิดคำนึงของเขาตลอดเวลาเหมือนเธอไม่ได้จากไปไหน เธอยังอยู่ใกล้เขามากกว่าใคร 


        นิกสงสัยเสมอว่าภรรยาของเขาคิดอะไรอยู่ “ผมคิดว่าคำถามนี้เป็นพายุในการแต่งงานทุกคู่ เธอคิดอะไรอยู่ เธอรู้สึกอย่างไร เธอเป็นใคร เราทำอะไรให้เธอ เราจะทำอะไรต่อไปดี ” เอมีเชื่อว่าการแต่งงานคือการดำเนินรอยตามคำแนะนำเก่าแก่ที่ว่า “ให้ประนีประนอม คุยกัน อย่าเข้านอนโดยยังโกรธกันอยู่” แต่แล้วทั้งคู่ก็ต้องสงสัยว่าต่างฝ่ายรู้จักกันดีแท้แน่แล้วหรือไม่อย่างไร ในเมื่อต่างฝ่ายต่างรู้สึกว่าชีวิตคู่มาถึงจุดจบแล้ว



         จิลเลียน ฟลินน์ เป็นนักเขียนที่เก่งมาก เธอเขียนนิยายมาแล้ว ๒ เล่มก่อนหน้าหนังสือเรื่องนี้ คือ Sharp Objects (๒๐๐๖) เกี่ยวกับฆาตกรต่อเนื่องในรัฐมิสซูรี และ Dark Places

มาพูดถึง Sharp Objects


เวอร์ชั่น ไทย
เวอร์ชั่น อังกฤษ

ใบหน้าที่คุณคุ้นเคย...อาจซ่อนความคลุ้มคลั่งไว้อย่างคาดไม่ถึง

       ความหวาดกลัวแพร่ระบาดไปทั่วเมืองเล็กๆ อันเงียบสงบในรัฐมิสซูรี เมื่อพบศพเด็กหญิงวัย 9 ขวบถูกฆ่าถ่วงน้ำ นอกจากร่องรอยถูกรัดคอจนตายแล้ว...ฟันของเด็กน้อยยังถูกเลาะออกไปจนหมด ทิ้งไว้เพียงปากที่อ้าค้างและโพรงดำมืดชวนสยอง เมื่อมีเด็กหายตัวไปอีกคนคามิลล์ พรีกเกอร์ นักข่าวสาวจากชิคาโกจึงถูกส่งไปทำข่าวคดีสะเทือนขวัญที่บ้านเกิด หลังจากไม่ได้กลับบ้านนานเกือบสิบปี ดูเผินๆ เมืองนี้ก็ยังดูเหมือนเดิม คนก็หน้าเดิมๆ ที่รู้จักมาตั้งแต่เด็ก แต่ที่ต่างออกไปคือความหวาดกลัวอันเย็นเยียบที่แฝงอยู่ในทุกอณู คามิลล์ต้องเข้าไปตีสนิทกับเพื่อนบ้าน เพื่อล้วงข้อมูลมาเขียนข่าว แต่เธอกลับไม่รู้ตัวเลยว่าความวิปริตกำลังเข้ามาทักทาย แม้มันจะอยู่ใกล้ขนาดเห็นฟันในปากเธอครบทุกซี่ก็ตาม

       สำหรับ Sharp Objects ไม่ค่อยได้กระแสตอบรับมากนัก อาจเป็นเพราะ Sharp Objects เป็นเพียงแค่ผลงานแรกของ กิลเลียน ฟรีนน์ ซึ่งเธอก็ได้พัฒนางานเขียนเธอขึ้นเรื่อย จนได้นำมาสร้างเป็นภาพยนตร์ถึงสองเรื่องในเวลาไล่เลี่ยกัน  
         บล๊อคเกอร์รู้สึกหลงรักเธอ ไม่ใช่แค่ฝีมืองานเขียนของเธอ แต่รวมถึงความพยายามของเธอ ความมุ่งมั่นทำในสิ่งที่ตัวเองรักจนบรรลุผลสำเร็จในที่สุด


แหล่งข้อมูลและรูปภาพที่เกี่ยวข้อง



วันอังคารที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2558

โปรแกรมภาษาคอมพิวเตอร์ (c/c++/c#/Java)


........ภาษา คือสิ่งที่ใช้ในการสื่อสาร มนุษย์สื่อสารกับมนุษย์เราเรียกว่าภาษามนุษย์
แต่เมื่อยุคสมัยเริ่มเปลี่ยนแปลง เริ่มมีการใช้คอมพิวเตอร์ นั้นก็หมายความว่าเราก็จะต้องมีภาษาที่ใช้สื่อสารกับคอมพิวเตอร์ด้วยเช่นกัน ซึ่งเราเรียกว่า ภาษาคอมพิวเตอร์ การสื่อสารกับคอมพิวเตอร์จะไม่ได้เป็นคำๆเหมือนกับภาษามนุษย์ แต่จะอยู่ในชุดคำสั่ง ซึ่งเรียกว่าโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ซึ่งการที่เราจะสื่อสารกับคอมพิวเตอร์ได้ ต้องมีการเขียนโปรแกรมขึ้นหรือที่เรียกว่าซอฟต์แวร์ โดยต้องเขียนให้คอมพิวเตอร์เข้าใจ เพื่อให้มันทำงานได้ตามที่เราสั่ง โดยแบ่งออกได้หลายประเภท แต่วันนี้จะแนะนำโปรแกรมพื้นฐาน(จริงๆก็ไม่พื้นฐานนะ แต่เป็นโปรแกรมที่ได้ยินกันบ่อย)ที่ทุกคนควรรู้จักกันก่อน 





1.ภาษาซี (C Language)




  ก่อนรู้จักภาษาซี มาดูที่ภาษาแอสเซมบลี (Assembly language)ก่อน
............เป็นภาษาที่ใช้สัญลักษณ์ข้อความ แทนกลุ่มของตัวเลขฐานสอง เพื่อให้ง่ายต่อการเขียนและการจดจำมากขึ้น การทำงานของโปรแกรมจะต้องทำการแปลภาษาแอสเซมบลีให้เป็นภาษาเครื่อง โดยใช้ตัวแปลที่เรียกว่า แอสเซมเบลอร์ (Assembler)......




        ภาษาซี เป็นภาษาที่นิยมใช้ในการเขียนโปรแกรมมาก เป็นภาษาระดับสูงที่มีประสิทธิภาพในการทำงานใกล้เคียงกับภาษาแอสแซมเบลอร์
       เริ่มแรกการพัฒนาภาษาซีใช้เพื่อเขียนซอฟต์แวร์ระบบ แต่ปัจจุบัน สามารถใช้ในงานด้านต่าง ๆ มากมาย เช่น ระบบการจัดการฐานข้อมูล โปรแกรมทางธุรกิจ โปรแกรมสำเร็จรูป และสามารถสร้างกราฟิกได้
        ข้อดีของภาษานี้ คือ ทำงานได้เร็วมากเมื่อเทียบกับภาษาอื่นๆ สามารถทำงานได้บนเครื่องคอมพิวเตอร์ต่างประเภท โดยมีการคอมไพล์ใหม่ แต่ไม่ต้องแก้ไขโปรแกรมอย่างใด ส่วน ข้อเสีย คือ ยากที่จะเรียนรู้มากกว่าภาษาอื่น เนื่องจากลักษณะคำสั่งไม่มีรูปแบบที่แน่นอน และ ตรวจสอบโปรแกรมได้ยาก ไม่เหมาะจะใช้สร้างโปรแกรมที่ต้องมีการออกรายงานที่มีรูปแบบที่ ซับซ้อนมาก ๆ



2.ภาษาc++


          ภาษาซี C++ เป็นภาษาโปรแกรมคอมพิวเตอร์อเนกประสงค์ มีโครงสร้างภาษาที่มีการจัดชนิดข้อมูลแบบสแตติก  และสนับสนุนรูปแบบการเขียนโปรแกรมที่หลากหลาย (multi-paradigm language) ได้แก่ การโปรแกรมเชิงกระบวนคำสั่งการนิยามข้อมูลการโปรแกรมเชิงวัตถุ, และการโปรแกรมแบบเจเนริก (generic programming)
          ภาษาซีพลัสพลัสได้ถูกออกแบบมาเพื่อเป็นภาษาสำหรับการเขียนโปรแกรมทั่วไป สามารถรองรับการเขียนโปรแกรมในระดับภาษาเครื่องได้ เช่นเดียวกับภาษาซี  
          ภาษาซีพลัสพลัสควรจะมีความเร็วเทียบเท่าภาษาซี แต่ในการเขียนโปรแกรมจริงนั้น ภาษาซีพลัสพลัสเป็นภาษาที่มีการเปิดกว้างให้โปรแกรมเมอร์เลือกรูปแบบการเขียนโปรแกรม ซึ่งทำให้มีแนวโน้มที่โปรแกรมเมอร์อาจใช้รูปแบบที่ไม่เหมาะสม ทำให้โปรแกรมที่เขียนมีประสิทธิภาพต่ำกว่าที่ควรจะเป็น และภาษาซีพลัสพลัสนั้นเป็นภาษาที่มีความซับซ้อนมากกว่าภาษาซี จึงทำให้มีโอกาสเกิดบั๊กขณะคอมไพล์มากกว่า
          ภาษาซีพลัสพลัสเข้ากันได้กับภาษาซีในเกือบทุกกรณี มาตรฐานของภาษาซีพลัสพลัส ถูกออกแบบมาเพื่อไม่ให้มีการเจาะจงแพลตฟอร์มคอมพิวเตอร์
          ภาษาซีพลัสพลัสรองรับรูปแบบการเขียนโปรแกรมที่หลากหลาย (multi-paradigm)

3.Java 





       Java หรือ Java programming language คือภาษาโปรแกรมเชิงวัตถุ


       พัฒนาโดย เจมส์ กอสลิง และวิศวกรคนอื่นๆ ที่บริษัท ซัน ไมโครซิสเต็มส์ 
       ภาษานี้มีจุดประสงค์เพื่อใช้แทนภาษาซีพลัสพลัส C++ 
       จุดเด่นของภาษา Java อยู่ที่ผู้เขียนโปรแกรมสามารถใช้หลักการของ Object-Oriented Programming มาพัฒนาโปรแกรมของตนด้วย Java ได้ 
         ภาษา Java เป็นภาษาสำหรับเขียนโปรแกรมที่สนับสนุนการเขียนโปรแกรมเชิงวัตถุ ( OOP : Object-Oriented Programming) โปรแกรมที่เขียนขึ้นถูกสร้างภายในคลาส ดังนั้นคลาสคือที่เก็บเมทอด (Method) หรือพฤติกรรม (Behavior) ซึ่งมีสถานะ (State) และรูปพรรณ (Identity) ประจำพฤติกรรม (Behavior) 

4.ภาษาc#

        ภาษา C# (ซี-ชาร์ป) เป็นภาษาโปรแกรมคอมพิวเตอร์ระดับสูงที่ใช้สาหรับเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์1 ที่ได้รับความนิยมเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ในปัจจุบัน และเป็นภาษาโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่เหมาะสาหรับผู้ที่เริ่มต้นสนใจที่จะเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์เป็นอย่างยิ่ง ซึ่งภาษา C# ถูกพัฒนามาจากภาษา C++ (ซี-พลัสพลัส) และมีโครงสร้างแบบเชิงวัตถุ (object-oriented programming) โดยใช้ Visual Studio (วิชวล-สตูดิโอ) เป็นเครื่องมือสาหรับพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ซึ่ง Visual Studio เป็นเครื่องมือที่คอยอานวยความสะดวกในการพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ทาให้ผู้เขียนโปรแกรมสามารถพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์ได้ไม่ยากนัก
        ภาษา C# ได้รวบรวมข้อดีของภาษาต่างๆ เข้าไว้ด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็นภาษา Java ภาษา C และ ภาษา C++ โดยมีข้อดีดังนี้



            1. เป็นภาษาที่เขียนง่าย ไม่ซับซ้อนและเรียบง่าย เพราะคล้ายภาษา Java ภาษา C และ ภาษา C++ ทาให้หลายคนเข้าใจได้ไม่ยาก


            2. เป็นภาษาโปรแกรมคอมพิวเตอร์ยุคใหม่ที่ถูกสร้างขึ้นมาสาหรับการพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ภายใต้แนวคิด .NET Framework ซึ่งเป็นแนวคิดที่ได้รับความนิยมสูงที่สุดในปัจจุบัน
            3. เป็นภาษาที่ถูกออกแบบมาให้ทางานบน .NET Framework (ดอตเน็ต-เฟรมเวิร์ก) โดย .NET Framework เป็นรูปแบบในการพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์สมัยใหม่ ซึ่งบริษัทไมโครซอพท์เป็นผู้พัฒนา ซึ่งคุณสมบัติที่สาคัญของ .NET Framework ก็คือ ผู้ใช้งานสามารถใช้งานบนระบบฮาร์ดแวร์ (Hardware) หรือ ระบบปฏิบัติการ (Operating System) ที่แตกต่างกันได้อย่างไม่มีปัญหา เช่น เครื่องพีซีกับเครื่องแมคหรือ ระบบปฏิบัติการวินโดว์กับระบบปฏิบัติการแมคอินทอช เป็นต้น ดังนั้น ผู้เขียนโปรแกรมจึงสามารถเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ใหม่ๆ ได้โดยง่าย รวดเร็ว และไม่ต้องติดข้อจากัดต่างๆ อย่างเช่นการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ในสมัยก่อนอีกต่อไป
            4. เป็นภาษาที่แข็งแกร่ง เพราะเป็นภาษาที่ได้มีการแก้ไขข้อบกพร่องบางอย่างของภาษา Java ภาษา C และ ภาษา C++ เหล่านั้น ทาให้ ภาษา C# เป็นภาษาที่มีความสมบูรณ์ตามแบบฉบับของโครงสร้างแบบเชิงวัตถุ(object-oriented programming)


กล่าวโดยสรุปคือ โปรแกรมภาษาคอมพิวเตอร์มีการพัฒนาต่อยอดเรื่อยมาตั้งแต่ c มาเป็น c++ จนถึง c# และ java มีการปรับปรุงแก้ไขในจุดที่บกพร่องของโปรแกรมเรื่อยมา เพื่อให้มีการสื่อสารที่สะดวก รวดเร็วและถูกต้องแม่นยำในการสื่อสารข้อมูลต่างๆ

แหล่งอ้างอิง




วันอังคารที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2558

Social Network กับนักเรียนและสังคมไทย













สำหรับในยุคนี้ เราคงจะหลีกเลี่ยงหรือหนีคำว่า Social Network Social Media ไปไม่ได้ เพราะไม่ว่าจะไปที่ไหน ก็จะพบเห็นมันอยู่ตลอดเวลา ซึ่งหลายๆ คนก็อาจจะยังสงสัยว่า “Social Network” มันคืออะไรกันแน่ แล้วต่างกับSocial Media อย่างไร วันนี้เราจะมารู้จักความหมายของมันกันเถอะ
     
Social Network คืออะไร
โซเชียลเน็ตเวิร์ค หรือ Social Network คือเครือข่ายสังคมออนไลน์  หรือการที่ผู้ใช้งานอินเตอร์เน็ตคนหนึ่ง เชื่อมโยงกับเพื่อนอีกนับสิบ รวมไปถึงเพื่อนของเพื่อนอีกนับร้อย  ผ่านผู้ให้บริการด้านโซเชียลเน็ตเวิร์ค (Social Network) บนอินเตอร์เน็ต เช่น Facebook, Blogger, Hi5, Twitter หรือ Tagged เป็นต้น (บางเว็บไซต์ที่กล่าวถึงในตัวอย่าง ปัจจุบันนี้ได้เสื่อมความนิยมแล้ว)  การเชื่อมโยงดังกล่าว ทำให้เกิดเครือข่ายขึ้น เช่น เราสามารถรู้จักเพื่อนของเพื่อนเราได้  เป็นทอดๆ ต่อไปเรื่อย  ทำให้เกิดสังคมเสมือนจริงขึ้นมา  สามารถสร้างคอนเน็คชั่นใหม่ๆ ได้ง่าย  และเมื่อเราแชร์ (Share) ข้อความหรืออะไรก็ตามลงไปในเครือข่าย  ทุกคนในเครือข่ายก็สามารถรับรู้ได้พร้อมกัน  และสามารถตอบสนองต่อสิ่งที่เราแชร์ได้  เช่น  แสดงความคิดเห็น (Comment)  กดไลค์ (Like) ซึ่งอาจจะแตกต่างกันออกไปตามแต่ละผู้ให้บริการ  ความโดดเด่นในเรื่องความง่ายของโซเชียลเน็ตเวิร์ค (Social Network) ทำให้ธุรกิจ และนักการตลาดสนใจที่จะใช้เป็นเครื่องมือในการประชาสัมพันธ์สินค้า และบริการ
 โซเชียลเน็ตเวิร์ค (Social Network) มีกี่ประเภท อะไรบ้าง

การจัดประเภทของโซเชียลเน็ตเวิร์ค (Social Network) นั้นสามารถแยกได้ตามรูปแบบ และวัตถุประสงค์ในการใช้งาน

 โซเชียลเน็ตเวิร์ค (Social Network) ตามรูปแบบ แบ่งได้เป็น
1. Blog หรือ บล็อก คือเว็บไซต์รูปแบบหนึ่ง มาจากคำว่า Weblog (Website + Log) ซึ่งคำว่า Log ในที่นี้หมายถึง ปูมดังนั้น Blog จึงมีลักษณะเป็นเว็บไซต์ที่จัดเก็บข้อมูลด้วยวิธีเดียวกับปูม  มีการเรียงลำดับตามวันที่บันทึก  ข้อมูลใหม่ที่ Post จะอยู่บนสุด  ส่วนข้อมูลเก่าจะอยู่ล่างสุด  โดยบล็อกสมัยนี้ไม่ได้อยู่ลำพังเดี่ยวๆ แต่มีลักษณะเป็น Community ที่รวบรวม Blog หลายๆ Blog เข้าไว้ด้วยกัน  สามารถเชื่อมโยงผู้เขียน (Blogger) ได้เป็นสังคมขนาดใหญ่  ในขณะเดียวกันก็เชื่อมโยงผู้อ่านไว้กับผู้เขียนได้  โดยสามารถคอมเม้นต์บทความ  ติดตาม  หรือกดโหวตได้ เช่น Blogger เป็นต้น
2. ไมโครบล็อก (Microblog) เป็นเว็บไซต์ขนาดเล็ก ใช้สำหรับส่งข้อความสั้นๆ ไม่กี่ประโยค เพื่อบอกถึงสถานการณ์ และความเป็นไป ไมโครบล็อกที่มีผู้นิยมใช้บริการ เช่น Twitter
3. โซเชียลเน็ตเวิร์คเว็บไซต์ (Social Network Website) คือเว็บไซต์ที่สร้างขึ้นมาเพื่อเป็นสังคมออนไลน์โดยเฉพาะ เช่น Facebook, Linkedin, Myspace, Hi5 เป็นต้น เว็บพวกนี้มีจุดเด่นที่การแชร์คอนเท้นต์ ทั้งข้อความ รูปภาพ และวีดีโอ บางเว็บรวมไปถึงบทความ เพลง และลิ้งค์  นอกจากนั้นยังมีฟังก์ชั่นในการแสดงความรู้สึก หรือมีส่วนร่วม เช่น การกดไลค์ (Like) การโหวต การอภิปราย (Discuss) และการแสดงความคิดเห็น เป็นต้น
4. เว็บโซเชียลบุ๊คมาร์ค (Bookmark Social Site) เป็นเว็บที่ให้เราเก็บหน้าเว็บ หรือเว็บไซต์ที่เราชื่นชอบ เพื่อเอาไว้เข้าชมทีหลัง แต่พอมาเป็นโซเชียลไซต์ เราจะสามารถแชร์ URL ของหน้าเว็บเหล่านั้น รวมถึงดูว่าคนอื่นเก็บหน้าเว็บอะไรไว้บ้าง เข้าชม และแสดงความคิดเห็นต่อหน้าเว็บต่างๆ ได้




 โซเชียลเน็ตเวิร์ค (Social Network) ตามวัตถุประสงค์ในการใช้งาน แบ่งได้เป็น
1. เผยแพร่ตัวตน (Identity Network) เป็นเว็บไซต์โซเชียลที่มุ่งเน้นการนำเสนอตัวตนของผู้ใช้งาน เรื่องราวของตัวเอง ภาพถ่ายของตัวเอง สิ่งที่ตัวเองชอบ หรือว่าสนใจ ความคิดเห็น ความรู้สึกที่มีต่อสิ่งต่างๆ เว็บที่มีลักษณะดังกล่าว ได้แก่ Facebook, Myspace เป็นต้น
2. เผยแพร่ผลงาน (Creative Network) เป็นเว็บไซต์ที่เน้นไปที่ผลงานของเจ้าของเว็บ มากกว่าตัวตนของเจ้าของผลงาน  ส่วนมากเว็บโซเชียลเน็ตเวิร์คประเภทนี้  มักรวมผู้ที่ทำงานประเภทเดียวกันไว้ด้วยกัน  เช่น  เว็บรวมนักเขียนนิยาย  เว็บรวมคนรักการถ่ายภาพ  เว็บรวมนักออกแบบกราฟิก ฯลฯ  ซึ่งการสร้างเครือข่ายลักษณะนี้มักใช้ในการหาลูกค้า หรือเพื่อนร่วมอาชีพเป็นสำคัญ เช่น Coroflot, flickr, Multiply, DevianART เป็นต้น
3. ความสนใจตรงกัน (Interested Network)  เว็บไซต์ประเภทนี้คล้ายๆ กับเว็บเผยแพร่ผลงาน  คือ รวบรวมผู้ที่สนใจในเรื่องเดียวกันมาไว้ด้วยกัน แต่ต่างกันที่ Interested Network เจ้าของเว็บไม่ต้องเป็นเจ้าของผลงาน แค่แชร์ลิ้งค์ หรือเว็บที่ตัวเองสนใจ เช่น Pinterest, del.licio.us, Digg, Zickr เป็นต้น
4. โลกเสมือน (Virtual life / Game online) เป็นลักษณะการจำลองตัวของผู้ใช้งานเป็นตัวละครตัวหนึ่งในเกม หรือสถานการณ์สมมุติ โดยมีเรื่องราว หรือภาระกิจให้ปฏิบัติ โดยอาจจะปฏิบัติโดยลำพังแข่งกับผู้เล่นคนอื่น หรือร่วมกันเป็นทีมก็ได้  โดยในระหว่างเล่นสามารถพูดคุย หรือสื่อสารกับผู้เล่นอื่นๆ ได้ ทำให้มีลักษณะเป็น Social Network แบบหนึ่ง  เช่น Second Life, The SIM เป็นต้น



พฤติกรรมการใช้งานโซเชียลเน็ตเวิร์ค (Social Network) ของคนไทย
    พฤติกรรมของผู้ใช้งานอินเตอร์เน็ต ปรับเปลี่ยนจากการรับข่าวสารจาก Portral Site มาเป็นโซเชียลเน็ตเวิร์ค (Social Network) เว็บไซต์ เริ่มเด่นชัดตั้งแต่ช่วงปี 2007 หรือ พ.ศ. 2550 เป็นต้นมา และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ มีผลการศึกษาพบว่าประมาณ 1 ใน 3 ของผู้ใช้งานโซเชียลเน็ตเวิร์ค (Social Network) ใช้เพื่ออัพเดตข้อมูลข่าวสาร และอีก 1 ใน 3 เพื่อคุยกับเพื่อนและคนรู้จัก นั่นสะท้อนให้เห็นเป็นอย่างดีว่าผู้ใช้งานอินเตอร์เน็ต ติดตามข่าวสารจากโซเชียลเน็ตเวิร์ค (Social Network) มากขึ้น
ทำไมโซเชียลเน็ตเวิร์ค (Social Network) ถึงกลายมาเป็นเครื่องมือทางการตลาดยอดนิยมได้

เนื่องจากการโฆษณาผ่านโซเชียลเน็ตเวิร์ค (Social Network) นั้นต้นทุนต่ำแต่มีประสิทธิผลสูง หรือหมายถึงมีประสิทธิภาพในการโฆษณาสูงมาก สามารถเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้โดยตรง และกระจายการรับรู้ได้รวดเร็ว ทำให้ธุรกิจต่างๆ ต่างให้ความสนใจ โดยระยะแรกนั้นธุรกิจที่มีขนาดเล็ก มีเงินลงทุนน้อยได้ทดลองใช้งานก่อน และเมื่อประสบความสำเร็จ ก็ทำให้ธุรกิจขนาดใหญ่ต้องลงมาโฆษณาประชาสัมพันธ์ผ่านโซเชียลเน็ตเวิร์ค (Social Network) ควบคู่ไปกับสื่อโฆษณาที่เป็น mass marketing อื่นๆ
       
         
    
  ส่วนSocial Media คืออะไร

     คำว่า “Social” หมายถึง สังคม ซึ่งในที่นี้จะหมายถึงสังคมออนไลน์ ซึ่งมีขนาดใหม่มากในปัจจุบัน
     คำว่า “Media” หมายถึง สื่อ ซึ่งก็คือ เนื้อหา เรื่องราว บทความ วีดีโอ เพลง รูปภาพ เป็นต้น
    
    ดังนั้น คำว่า Social Media จึงหมายถึง สื่อสังคมออนไลน์ที่มีการตอบสนองทางสังคมได้หลายทิศทาง โดยผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ต พูดง่ายๆ ก็คือเว็บไซต์ที่บุคคลบนโลกนี้สามารถมีปฏิสัมพันธ์โต้ตอบกันได้นั่นเอง      

    พื้นฐานการเกิด Social Media ก็มาจากความต้องการของมนุษย์หรือคนเราที่ต้องการติดต่อสื่อสารหรือมีปฏิสัมพันธ์กัน จากเดิมเรามีเว็บในยุค 1.0 ซึ่งก็คือเว็บที่แสดงเนื้อหาอย่างเดียว บุคคลแต่ละคนไม่สามารถติดต่อหรือโต้ตอบกันได้ แต่เมื่อเทคโนโลยีเว็บพัฒนาเข้าสู่ยุค 2.0 ก็มีการพัฒนาเว็บไซต์ที่เรียกว่า web application ซึ่งก็คือเว็บไซต์มีแอพลิเคชันหรือโปรแกรมต่างๆ ที่มีการโต้ตอบกับผู้ใช้งานมากขึ้น ผู้ใช้งานแต่ละคนสามารถโต้ตอบกันได้ผ่านหน้าเว็บ 

     Social Media คือสื่อยุคใหม่ที่กำลังเข้ามามีบทบาทสำคัญในทุกวงการทั้งชีวิตประจำวัน และการดำเนินธุรกิจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเป็นสื่อที่นิยมใช้สื่อสารการตลาดเพื่อการโปรโมท และทำกิจกรรมการตลาดออนไลน์ในหลาย ๆ รูปแบบ แต่สำหรับการนำ social media มาใช้เป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการภายในธุรกิจยังเป็นสิ่งมีข้ัอจำกัดและอาจจะเป็นสิ่งที่ต้องห้ามอยู่ หลายองค์กรในภาครัฐและเอกชนก็ไม่อนุญาตให้พนักงานใช้ social media ในการทำงาน บางหน่วยงานก็บล็อกเว็บไซต์ประเภท social network ต่าง ๆ เพื่อป้องกันไม่ให้พนักงานเล่นในเวลาทำงาน เช่น facebook, youtube,bit torrent ฯลฯ ด้วยเหตุผลหลัก ๆ ทางด้าน productivity ในการทำงาน , ความปลอดภัย , การแย่งสัญญาณอินเตอร์เน็ต ฯลฯ บางทีมีการแซวกันขำๆ ว่าหน้าที่ของหัวหน้าที่เพิ่มขึ้นมาอย่างหนึ่งก็คือ เข้าไปตรวจดูในเฟซบุคเพื่อที่จะจับผิดลูกน้องว่ามีใครออนไลน์อยู่บ้างในเวลาทำงาน
แต่บางองค์กรก็ให้ความสำคัญกับการใช้ social media เป็นอย่างมาก มีการสนับสนุนให้จัดตั้งหน่วยงานที่รับผิดชอบโดยตรงเรื่อง social media ขององค์กรเลยทีเดียว เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการให้บริการลูกค้า และการบริหารความสัมพันธ์ของลูกค้า ส่วนการนำ social media มาประยุกต์ใช้ในการทำงานภายในอย่างเป็นกิจลักษณะนั้น ก็เห็นจะมีแต่องค์กรชั้นนำเท่านั้นที่มีการออกนโยบายที่เกี่ยวข้องและมีระบบการควบคุมดูแลเป็นอย่างดี เพื่อให้พนักงานสามารถใช้ social network ในการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ในขณะที่บางองค์กรก็พยายามจะหาวิธีการนำ social media มาใช้ให้เกิดประโยชน์ แต่ก็ยังไม่มีไอเดียว่าจะสามารถนำมาประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์กับการทำงานอย่างเป็นรูปธรรมได้อย่างไร

ตัวอย่างการใช้ social media 
1. Facebook


 Facebook คือ  เว็บไซต์ Social Network เว็บหนึ่ง เป็นเว็บไซต์ที่มีผู้ใช้บริการมากที่สุดเป็นอันดับ 1 ของโลก การได้รับความนิยมของ Facebook อาจเนื่องมาจากบน Facebook นั้น ผู้ใช้งานสามารถใช้เพื่อติดต่อสื่อสารหรือร่วมทำกิจกรรมกับผู้ใช้งานท่าน อื่นได้เช่น การเขียนข้อความ เล่าเรื่อง ความรู้สึก แสดงความคิดเห็นเรื่องที่สนใจ โพสต์รูปภาพ โพสต์คลิปวิดีโอ แชทพูดคุย เล่นเกมที่สามารถชวนผู้ใช้งานท่านอื่นมาเล่นกับเราได้ รวมไปถึงทำกิจกรรมอื่นๆ ผ่านแอพลิเคชั่นเสริม (Applications) ที่มีอยู่อย่างมากมาย ซึ่งแอพลิเคชั่นดังกล่าวได้ถูกพัฒนาเข้ามาเพิ่มเติมอยู่เรื่อยๆ แอพลิเคชั่นยังแบ่งออกเป็นหลายหมวดหมู่ เช่น เพื่อความบันเทิง เกมปลูกผักยอดนิยม เป็นต้น หรือไม่ว่าจะเป็นเชิงธุรกิจ แอพลิเคชั่นของ Facebook ก็มีให้ใช้งานเช่นเดียวกัน ด้วยเหตุนี้Facebook จึงได้รับความนิยมไปทั่วโลก
2. Twitter 
twitter.com เป็นบริการส่งข้อความเป็นประโยคสั้นๆ ที่คุณส่งไปนั้นจะเป็นการบอกว่า คุณ กำลังทำอะไรอยู่? ในตอนนั้น เพื่อเป็นบันทึก ณ. ช่วงเวลานั้นว่าคุณทำอะไรอยู่ ลงไปในเว็บไซต์ของ Twitter.com เช่น "กำลังจะกินข้าว" "กำลังจะออกจากบ้าน" เป็นต้น และเมื่อคุณส่งประโยคสั้นๆ ไปเรื่อยๆ ในช่วงเวลาที่คุณมีเวลา และสามารถทำได้ เมื่อกลับมาอ่านมัน ข้อความทั้งหมด มันจะก็จะสามารถประติดประต่อ บอกเรื่องราวว่าคุณทำอะไรไปบ้างช่วงวันหนึ่งๆ ซึ่งจะสะดวกกว่าการ มานั่งหลังคดหลังแข็งมานั่งเขียนบล็อก ทั้งวัน นี้แหละที่ Twitter.com เลยเข้ามาทดแทนและช่วยให้คนไม่ชอบเขียน บล็อก หันมาใช้บริการพวกนี้เยอะมากขึ้น

แต่สิ่งหนึ่งที่มาช่วยให้ Twitter มีประโยชน์ และสนุกมากขึ้น ก็คือ คุณสามารถติดตาม (Follow) คนอื่นๆ ที่เค้าเขียนข้อความลงไปใน Twitter ของเค้าได้ ว่าเค้าคนนั้นกำลังทำอะไรอยู่ โดยเมื่อคุณ ติดตาม (Follow) เค้าแล้ว เมื่อคนนั้นเค้าทำอะไรและพิมพ์อะไรลงไปใน Twitter คุณก็ได้รับข้อความเหล่านั้นด้วยไปพร้อมๆ กัน และก็สามารถติดตามได้ทีละหลายๆ คน ซึ่งก็จะทำให้คุณทราบว่าเค้าเหล่านั้นกำลังทำอะไรอยู่ในขณะนั้นทันที จะเห็นว่า Twitter ก็เริ่มกลายเป็นเครื่องมือในการกระจายข้อมูล (Broadcast) ของคนๆ หนึ่ง ไปยังคนหลายๆ คนได้ง่ายๆ ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต และที่สำคัญคือ คุณสามารถส่งข้อความเข้า Twitter ผ่านโทรศัพท์มือถือได้ง่ายๆ ผ่าน SMS หรือ WAP โดยเข้าไปที่ http://m.twitter.com ดังนั้นไม่ว่าคุณอยู่ไหนก็ตาม ที่คุณมีโทรศัพท์มือถือ คุณก็สามารถส่งข้อความเข้า Twitter ได้ง่ายๆ ทีนี้ เมื่อมีเพื่อนๆ ของคุณ หรือคนที่คุณรู้จัก แล้วเค้าเหล่านั้นใช้บริการ Twitter คุณก็สามารถรับรู้ได้ทันทีว่าเพื่อนของคุณหรือ คนที่คุณอยากติดตาม เค้ากำลังทำอะไรอยู่ ณ. ตอนนั้น
  
Twitter ต่างจาก MSN หรือ Instant Messaging ยังไง?

        การใช้พวก Instant Messaging หรือพวกโปรแกรม MSN Messenger, G-Talk จะเป็นโปรแกรมที่เราส่งไปหา "คนที่เรารู้จักอยู่แล้ว" โดยส่วนใหญ่จะเป็น "การถาม หรือต้องการคำตอบๆ กลับ" แต่รูปแบบการส่งข้อความของ Twitter จะเป็นการส่ง ข้อความไปในรูปแบบ "บอกเล่า" มากกว่า ว่า"ฉันกำลังทำอะไรอยู่" ไม่ต้องการ หรือคาดหวังว่าจะมีการตอบกลับจากคนที่รับข้อความ แต่ถ้าหากคนได้รับข้อความ แล้วเค้าก็สามารถตอบกลับหาคนที่ส่งมาได้เช่นกัน



3. Wiki 


         ใช้สำหรับจัดการความรู้ขององค์กร หรือทำ KM นั่นเอง โดยเปิดพื้นที่ให้พนักงานเข้าไปเขียนบันทึกจัดเก็บไว้เป็นคลังความรู้ขององค์กร ให้คนทำงานได้สืบค้นและเรียนรู้ตามได้ ใช้เป็นคู่มือในการทำงานก็ได้ ใช้เป็นแหล่งอ้างอิงในการแก้ไขปัญหา หรือตอบคำถามที่พบบ่อยก็ได้ พนักงานบางคนจะไม่มีวันถูกไล่ออกจากงาน เพราะเขาเป็นคนเขียน wiki ของที่ทำงาน เหมือนเป็นคัมภีร์ประจำออฟฟิศนั่นหมายความว่าความมั่นคงในงานของพนักงานก็สูงขึ้นด้วย


4. Youtube 




     YouTube (ยูทูบ) เป็นเว็บไซต์แลกเปลี่ยนภาพวิดีโอที่มีชื่อเสียง(www.youtube.com) โดยในเว็บไซต์นี้ ผู้ใช้สามารถอัพโหลดภาพวิดีโอเข้าไป เปิดดูภาพวิดีโอที่มีอยู่ และแบ่งภาพวิดีโอ เหล่านี้ให้คนอื่นดูได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆ  ใน YouTube จะมีข้อมูลเนื้อหารวมถึงคลิปภาพยนตร์สั้นๆ และคลิปที่มาจากรายการโทรทัศน์ มิวสิกวิดีโอ และวิดีโอบล็อกกิ้ง (ซึ่งเป็นการสร้างบล็อกโดยมีส่วนของข้อมูลที่เป็นภาพ วิดีโอเป็นส่วนประกอบ โดยเฉพาะเป็นภาพวิดีโอที่เกิดจากมือสมัครเล่นถ่ายกันเอง) คลิปวิดีโอที่เผยแพร่อยู่บนเว็บไซต์ YouTube ส่วนมากเป็นไฟล์คลิปสั้นๆ ประมาณ 1 - 10 นาที ถ่ายทำโดยประชาชนทั่วไป แล้วอัพโหลดขึ้นสู่เว็บไซต์ของ YouTube โดยมีการแบ่งประเภทและจัดอันดับคลิปเอาไว้ด้วย เช่น ไฟล์ล่าสุด, ไฟล์ที่มีผู้ชมมากที่สุด, ไฟล์ที่ได้รับการโหวตมากที่สุด

5. Foursquare หรือ Swarm



      หากพูดถึง Foursquare หลายคนคงจะรู้จักกันในฐานะของ แอพเช็คอินชื่อดัง แต่ ณ ตอนนี้ทาง Foursquare ได้ทำการยกเลิกระบบเช็คอิน แล้วหันไปพัฒนาแอพสำหรับการเช็คอินโดยเฉพาะแล้ว โดยแอพตัวใหม่ นี้มีชื่อว่า Swarm  ซึ่งหลายคนอาจจะสงสัยว่า Swarm คืออะไร? เหมือนหรือแตกต่างจาก Foursquare อย่างไรบ้าง
Swarm เป็นแอพสำหรับการเช็คอินในรูปแบบ Local Base Service ที่ถูกพัฒนามาจาก Foursquare โดยตรง 

โดยคุณสมบัติที่น่าสนใจคร่าวๆ ก็มีดังนี้
  • สามารถแชร์ตำแหน่งที่เราอยู่ให้เพื่อนๆ ทราบได้โดยไม่ต้องเช็คอิน
  • มีระบบหน้าฟีดที่ทำให้เราสามารถคอมเม้นท์เพื่อนๆ ได้ง่ายๆ
  • ส่งข้อความถึงเพื่อนที่อยู่ใกล้ๆ กันได้ง่าย
  • มีระบบชวนเพื่อนเที่ยว เมื่อเราสนใจแผนหรือตำแหน่งที่เพื่อนของเราอยู่ในตอนนั้น
  • มีระบบสติ้กเกอร์ใช้สื่อแทน”เจ้าที่” (Mayor)

6. Instagram

เน้นการโพสต์รูปภาพ แชร์รูปภาพเป็นหลัก เอามาประยุกต์ใช้ในการรายงานด้วยภาพ เช่น ภาพกิจกรรมต่าง ๆ การสัมมนา การประกวด การมอบของรางวัล การทำงานที่เสี่ยงอันตราย ชิ้่นงานที่ได้คุณภาพ ตัวอย่างของเสีย กิจกรรมนอกสถานที่ การแข่งกีฬา การดูงาน การทำ 5ส. สภาพแวดล้อมในสถานประกอบการ ฯลฯ หรือนำมาใช้เป็นภาพประกอบในการแจ้งเรื่องร้องเรียน หรือข้อเสนอแนะไคเซ็น 
     


      เมื่อไม่อาจปฏิเสธเทคโนโลยีโซเชียลเน็ตเวิร์กในโลกออนไลน์ ที่เข้ามามีบทบาทในการดำเนินชีวิตเป็นอย่างมากได้ ผู้ใช้สื่อควรทำอย่างไรให้การใช้เทคโนโลยี ซึ่งจะเข้ามาแทนที่การปฏิสัมพันธ์กันในชีวิตจริงเพื่อไม่ให้ส่งผลกระทบต่อความปฏิสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับมนุษย์และสิ่งแวดล้อม


   

       ภาพที่พบเห็นในปัจจุบัน คือไม่ว่าจะไปทำอะไร ที่ไหน ปรากฏภาพผู้คนในสังคมไทย คือต่างยกโทรศัพท์มือถือมาถ่ายรูปแล้วโพสต์ลงในโซเชียลมีเดีย หรือแต่ละคนกลายเป็นสังคมก้มหน้า สนใจแต่ความเคลื่อนไหวในหน้าจอเทคโนโลยีในมือ มากกว่าจะสนใจผู้คนหรือสิ่งรอบข้าง จนเสมือนว่า แต่ละคนมีโลกส่วนตัวและเรื่องราวต้องทำมากมายในโซเชียลเน็ตเวิร์กนั้น จนทำให้ผู้เขียนเกิดความรู้สึกกลัวไปเองว่า ในเวลาไม่นานนี้ การปฏิสัมพันธ์หรือพูดคุยระหว่างผู้คน คงเปลี่ยนรูปแบบไปสู่การเขียนบนหน้าจอเทคโนโลยีในมือ แทนการพูดด้วยปากที่ได้ยินเสียง อันแสดงถึงอารมณ์ ความรู้สึกและการรับรู้ระหว่างกัน จนในที่สุด ความเพิกเฉยต่อการรับรู้ ความรู้สึกระหว่างกัน จะลดน้อยลงไปตามลำดับ ถึงขั้นลืมวิธีการปฏิสัมพันธ์กันในชีวิตจริง

       
     โซเชียลเน็ตเวิร์กซึ่งจะทำให้คนกลับโดดเดี่ยวมากขึ้น และมีความเป็นมนุษย์น้อยลง ถึงกับเรียกโซเชียลมีเดียว่าเป็น “ความบ้าคลั่งของยุคสมัยใหม่” เนื่องจากเป็นโลกเสมือนจริง ที่ทำให้คนหนีห่างออกจากโลกของความเป็นจริงกันมากขึ้น และทำให้คนมีปัญหาพฤติกรรม

     เราควรหันหลังให้สิ่งเหล่านั้นบ้าง แล้วหันหน้าไปพบปะกับผู้คน สังคมในโลกแห่งความเป็นจริง อย่างน้อยก็ทำกิจกรรมอดิเรกโดยมีปฏิสัมพันธ์สื่อสารระหว่างผู้คน เพื่อใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ หรือไม่ก็อ่านหนังสือแล้วแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในสิ่งที่อ่านกับผู้อื่น หรือว่าใช้เวลาทำกิจกรรมหาความรู้ สร้างความสามารถพิเศษและพัฒนาทักษะสำคัญ เพื่อจะได้เป็นกำลังสำคัญของชาติต่อไปในวันหน้า

     ผู้ใหญ่ เด็กและเยาวชน ควรรู้จักใช้เทคโนโลยีและโซเชียลเน็ตเวิร์กในโลกออนไลน์อย่างเหมาะสมกับวัย มีสติสัมปชัญญะ คือความระลึกได้รู้สึกตัวอยู่เสมอ ในการควบคุมความรู้สึกอยากเล่นให้พอประมาณ และมีปัญญา คิดถึงผลดี-เสีย ที่จะตามมาจากการใช้เทคโนโลยีและโซเชียลเน็ตเวิร์กในโลกออนไลน์อย่างรู้เท่าทัน อย่าตกเป็นทาสของเทคโนโลยี 




แหล่งอ้างอิง และรูปภาพที่เกี่ยวข้อง

x